ประวัติความเป็นมา

"ประวัติความเป็นมา"

 

โครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

         ๐ มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศไทย ที่เปิดหลักสูตรปริญญาเอกทางรัฐประศาสนศาสตร์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักบริหาร นักวิชาการ และบุคลากรอื่นๆที่สนใจศึกษาในสาขาวิชานี้มีโอกาสศึกษานอกเวลาราชการ เพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลกลุ่มหลากหลายดังกล่าว  และเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปศึกษาต่อยังต่างประเทศอีกด้วย 
         ๐ การเรียนในหลักสูตรปริญญาเอกโดยทั่วไป แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ Academic Program และ Research Program หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ เป็นหลักสูตรประเภท Academic Program ซึ่งประกอบไปด้วยการเรียนรายวิชาต่างๆ การสอบ Qualifying Examination การสอบปากเปล่า และการเขียนดุษฎีนิพนธ์  ดังนั้นหลักสูตรนี้จึงเป็นหลักสูตรที่ทำให้ผู้เรียนมีความรู้กว้างขวางครอบคลุม ที่สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ และปฏิบัติงานได้ ทำให้ผู้เรียนมีความพร้อมที่จะทำงานวิชาชีพในทันที
   
วัตถุประสงค์

  โครงการ “ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร” (PH.D. (PUBLIC ADMINISTRATION)
  เน้นสหวิทยาการและสังคมศาสตร์ประยุกต์ โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
           1. เพื่อผลิตนักบริหารทั้งในภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจเอกชน และองค์การที่ไม่มุ่งหวังผลกำไร
           2. เพื่อผลิตนักวิชาการที่ต้องการความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์และการจัดการ
           3. เพื่อทำการค้นคว้าวิจัย และแสวงหากระบวนทัศน์ใหม่ เพื่อพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการและเพื่อผลประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหาร
           4. เพื่อผลิตอาจารย์มหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาอื่นๆที่ต้องการผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางรัฐประศาสนศาสตร์โดยตรง 
           5. เพื่อใช้เป็นหลักในการพัฒนาการเรียนการสอนในสาขาวิชานี้ ซึ่งนับวันจะมีเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
           6. เพื่อผลิตบุคลากรที่ใช้วิชาชีพ และนักวิชาการที่ต้องการความรู้ทางการบริหาร
           7. เพื่อเตรียมตัวก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนักบริหารในหน่วยงานวิชาชีพและวิชาการ เช่น ผู้บริหารในโรงพยาบาล ผู้บริหารในโรงงานอุตสาหกรรม ผู้บริหารในโรงแรม เป็นต้น

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

1. สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวง ศึกษาธิการรับรองแล้ว และผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการโครงการฯ ดังนี้  
                1.1  สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่าที่มีผลการเรียนดี โดยต้องเป็นนักศึกษาระดับเกียรตินิยมจากสถาบันอุดมศึกษา ที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง หรือ
                1.2  ผู้เข้าศึกษาต้องเป็นผู้สำเร็จปริญญาโทสาขาใดก็ได้ จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำนักงาน ก.พ.รับรอง
2. ไม่เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
3. ไม่เคยถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาใด หรือให้ออกจากราชการ หรือหน่วยงานเอกชน เนื่องจากกระทำความผิดหรือมีความประพฤติเสื่อมเสีย
4. ไม่เป็นผู้มีโรคติดต่อร้ายแรง โรคที่สังคมรังเกียจหรือโรคสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
5. ผู้สมัครต้องมีความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ     
               กรณีที่ 1. มีผลสอบภาษาอังกฤษ       
               1. ผลสอบ TOEFL ดังนี้          
                   1.1 Paper-based               รวมไม่น้อยกว่า   500          
                   1.2 Comput er-based      รวมไม่น้อยกว่า   173       
                   1.3 Internet-based           รวมไม่น้อยกว่า   61  หรือ        
               2. ผลสอบ IELTS  ไม่น้อยกว่า 5.5  หรือ        
               3. ผลสอบ RIL Test ของสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยรามคำแหงในระดับพอใจ (Satisfactory, S) 
               ผลการสอบตาม 1 – 3 ต้องไม่เกิน 2 ปี นับจนถึงวันยื่นใบสมัคร

               กรณีที่ 2. ผู้สมัครมีผลสอบภาษาอังกฤษไม่เป็นไปตามกรณีที่ 1                
                       ให้มหาวิทยาลัยรับเข้าเป็นนักศึกษาแบบมีเงื่อนไข โดยต้องลงทะเบียนเรียนภาษาอังกฤษระดับกลาง และ/หรือระดับสูงภาย ในระยะเวลาก่อนเริ่มสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination)  ตามหลักสูตรที่สถาบันภาษากำหนด ผู้ที่ลงทะเบียนเรียนภาษาอังกฤษระดับกลาง ต้องได้ผลสอบไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์และไม่ต้องเรียน ภาษาอังกฤษระดับสูง สำหรับผู้ที่ได้ผลสอบน้อยกว่าร้อยละ 80 จะต้องลงทะเบียนเรียนภาษาอังกฤษระดับสูง และมีผลสอบ ในระดับพอใจ (Satisfactory, S)

ระบบการศึกษา

          การจัดการศึกษาเป็นระบบทวิภาค โดยแบ่งการศึกษาในปีการศึกษาหนึ่งๆ เป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ ใช้เวลาในการศึกษา ภาคละ 16 สัปดาห์ และภาคฤดูร้อนไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์ การเรียนการสอนจัดให้มีขึ้นนอกเวลาราชการแต่เป็นหลักสูตรเต็มเวลา ซึ่งหมายความว่านักศึกษาต้องใช้เวลาอย่างเต็มเวลา เพื่อให้สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรได้