POL 9111   ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์

POL 9111   ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration Theory)        3 (3-0-9)
                 
                        ขอบข่าย สถานภาพ และการเปลี่ยนแปลงของรัฐประศาสนศาสตร์ ทฤษฎี กระบวนทัศน์ และแนวการศึกษา เช่น แนวการศึกษาแบบดั้งเดิม แบบพฤติกรรมศาสตร์ และแบบยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ วิเคราะห์ทฤษฎีที่เป็นหลักของแต่ละยุคแต่ละสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวทฤษฎีในปัจจุบัน ด้วยการวิเคราะห์ข้อเขียนหรือหนังสือ ซึ่งเป็นตัวแทนหลักของแต่ละแนวความคิด

                          This course deals with the scope, status, development, and changes in Public Administration as a field of study. It aims also to analyze models, theories, and paradigms of the discipline which will be organized in terms of traditionalism, behavioralism, and postbehavioralism. More specifically, contemporary relevant theories of Public Administration will be selected and critically analyzed at the end of the course.

POL 9112  ทฤษฎีองค์การระดับสูง

POL 9112  ทฤษฎีองค์การระดับสูง (Advanced Organization Theory)        3 (3-0-9)
                    
          วิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของทฤษฎีองค์การ คัดเลือกทฤษฎีองค์การที่เป็นหลักในแต่ละยุค รวมทั้งในปัจจุบัน เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์สาระเนื้อหา การสร้างทฤษฎี ระเบียบวิธีการศึกษา จุดเด่นและจุดอ่อน ตลอดจนผลกระทบต่อการพัฒนาทฤษฎีองค์การในฐานะที่เป็นศาสตร์สาขาหนึ่ง
          This course deals with the changes and development in theories of organization and examines the landmarks and famous treatises on organization from the classical period up to the present time. In so doing, the course will be devoted to a discussion of the methodology and the impact of each theory on the development of organization theory as a field of study.

POL 9114  นโยบายสาธารณะ

POL 9114  นโยบายสาธารณะ   (Public Policy) 3 (3-0-9)
             
            ทฤษฎีและแนวการศึกษาที่สำคัญของนโยบายสาธารณะ นโยบายสาธารณะที่เป็นตัวแปรตามและตัวแปรอิสระ สิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อนโยบายสาธารณะ ตัวแปรและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบาย การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ การประเมินนโยบาย และข้อมูลป้อนกลับ
             This course examines theories and approaches to the study of public policy. It aims also to explore and examine studies that treat public policy both as independent and dependent variables. The impact of the contextualities on public olicy process is examined.  Included also are factors that have an influence on policy making, policy implementation, policy evaluation, and feedback analysis.

 

POL 9115  การจัดการทรัพยากรมนุษย์

*POL 9115  การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management)        3 (3-0-9)
                
                        ทฤษฎี แนวความคิด และกระบวนการของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การวิเคราะห์กลยุทธ์และการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเน้นความสำคัญของการฝึกอบรม การสำรวจความต้องการ การกำหนดหลักสูตร การบริหาร และการประเมินผลการฝึกอบรม สัมมนาในหัวข้อหรือประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อกระตุ้นให้มีการศึกษาปัญหาอย่างลึกซึ้งเพื่อการเขียนดุษฎีนิพนธ์
                       This course is concerned with the effective management of people at work. It examines what is being done, or should be done, to make people both more productive and more satisfied with working life.  It includes the analysis of planning of human resources.  Emphasis is given to training and development for better performance.  Students are encouraged to present ideas and issues concerning human resource management and development in seminars which will eventually be developed into dissertation topics under the supervision of instructors.

POL 9116  การบริหารงานคลัง

*POL 9116  การบริหารงานคลัง     (Fiscal Management)       3 (3-0-9)
               
           ศึกษาภาพรวมของการงบประมาณ และการบริหารงานคลังในภาครัฐ ทฤษฎีแนวคิดและนโยบายเกี่ยวกับการคลังและงบประมาณ ระบบการคลัง นโยบายทางเศรษฐกิจ นโยบายการเงินของรัฐ หนี้สาธารณะ เทคนิคและการวิเคราะห์งบประมาณ
          Examines the overview of public budgeting and financial administration. It is also concerned with theories and concepts of public finance policy and bugeting, public finance system, economic policy, public debt, as well as budgeting analysis techniques.